1. นวัตกรรม คืออะไร
ตอบ ความคิดการกระทำต่างๆ ที่นำมาใช้ปรับปรุงเพิ่มประโยชน์ในการดำเนินงานให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
2. นวัตกรรม ตรงกับ ภาษาอังกฤษว่าอย่างไร
ตอบ นวัตกรรมตรงกับภาษาอังกฤษว่า innovation ซึ่งหมายความว่า การทำเอกสิ่งใหม่ที่อาจอยู่ในรูปแบบทางความคิด หรือการกระทำ รวมถึงสิ่งประดิษฐ์เข้ามาใช้ในกระบวนการเรียนการสอน
3. สิ่งที่ถือว่าเป็นนวัตกรรมคืออะไร
ตอบ สิ่งที่เราคิดใหม่และเรานำสิ่งนั้นมาปฏิบัติหรือเป็นสิ่งที่เรามีอยู่เดิมเรานำมาปรับปรุงหรือเปลี่ยนแปลงในความคิดใหม่มาทำเป็นสิ่งขิงชิ้นใหม่
4. ท่านมีแนวทางการจัดสร้างนวัตกรรมอย่างไร
ตอบ แนวทางในหารสร้างนวัตกรรม ของข้าพเจ้าก็จะดูจากรอบตัวเราว่าในการเรียนการสอนในแต่ละครั้งเรายังขาดสิ่งใดหรือสิ่งใดควรเสริมเข้าไปเช่นการสอนที่เป็นแบบการพูดให้เด็กฟังหน้าชั้นอาจทำให้เด็กเกิดความเบื่อหน่าย เรา ก็นำจุดนี้มาแก้ไขปรับปรุงโดยการคิดสื่อที่ทำให้เด็กมีส่วนเราในการเรียนการสอน เช่น สื่อการสอบแบบทันสมัยจากแบบเดิมฟังครูอย่างเดียวนั้นเราก็ใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เป็นภาพเคลื่อนไหวมีการทดลองเพื่อให้เด็กได้เห็นสิ่งแปลงใหม่ และเกิดความเล่าใจในการเรียน
5. เทคโนโลยีคืออะไร
ตอบ คือการนำวัสดุอุปกรณ์หรือวิธีการใดๆ มาใช้ให้เกิดประโยชน์อย่างเป็นระบบเพื่อให้การดำเนินงานเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ
6. คำว่าเทคโนโลยีตรงกับภาษาอังกฤษว่าอย่างไร
ตอบ Toweare,Contruct to weare
7. คำว่าเทคโนโลยีภาษากรีกว่าอย่างไร
ตอบ ตรงกับภาษากรีกในคำว่า Techologia การำทงานอย่างเป็นระบบ
8. คำว่าเทคโนโลยีภาษาลาตินว่าอย่างไร
ตอบ ตรงกับภาษาลาตินในคำว่า Texere
9. ข้อใดที่ถือว่าเป็นเทคโนโลยีตามความหมายทัศนะทางวิทยาศาสตร์กายภาพอย่างไร
ตอบ ทัศนะทางวิทยาศาสตร์กายภาพ คือ เครื่องยนต์กลไกลไฟฟ้า อิเล็กทรอนิกส์
10. ข้อใดเป็นเทคโนโลยีตามความหมายทัศนะทางพฤติกรรมศาสตร์อย่างไร
ตอบ ทัศนะทางพฤติกรรมศาสตร์ คือ การนำโครงสร้างทางด้านพฤติกรรมมากำหนดรวบรวมในกระบวนการทางด้านความคิดหรือกระบวนการสอนต่างๆ ที่เป็นพฤติกรรม
11. เทคโนโลยีและนวัตกรรมต่างกันอย่างไร
ตอบ เทคโนโลยีและนวัตกรรมต่างกัน ตรงสถานการที่มันเกินขึ้นมาและการนำมาใช้เช่นเมื่อเราเกิดความคิดใหม่ๆจะทำสิ่งประดิษฐ์ขึ้นมาเป็นของที่เราสามารถนำมาใช้และเกิดประโยชน์ก็จะเป็นนวัตกรรม และเมื่อเรานำมาจนแพร่งหลายโดยทั่วกันเราจึงเรียกสิ่งนั้นใหม่ว่าเทคโนโลยี
12. เทคโนโลยีและนวัตกรรมอะไรเกิดขึ้นก่อน
ตอบ นวัตกรรมคือสิ่งที่เราคิดใหม่และเรานำสิ่งนั้นมาปฏิบัติหรือเป็นสิ่งที่เรามีอยู่เดิมเรานำมาปรับปรุงหรือเปลี่ยนแปลงในความคิดใหม่มาทำเป็นสิ่งของชิ้นใหม่ สามารถนำมาใช้จนเกิดการเรียกว่าเป็นเทคโนโลยีเทคโนโลยี และนวัตกรรมต่างกัน ตรงสถานการที่มันเกิดขึ้นมาและการนำมาใช้เช่นเมื่อเราเกิดความคิดใหม่ๆจะทำสิ่งประดิษฐ์ขึ้นมาเป็นของที่เราสามารถนำมาใช้และเกิดประโยชน์ก็จะเป็นนวัตกรรม และเมื่อเรานำมาจนแพร่งหลายโดยทั่วกันเราจึงเรียกสิ่งนั้นใหม่ว่าเทคโนโลยี ดังนั้น นวัตกรรม จึงเกิดก่อน เทคโนโลยี
13. หาความหมายการศึกษา 3 อย่าง
ตอบ ความหมายของการศึกษา 3 รูปแบบดังนี้
13.1 ยัง ยัคส์ รุสโซ (Jean Jacques Rousseau) ได้ให้ความหมายของการศึกษาไว้ว่า การศึกษาคือ การปรับปรุงคนให้เหมาะกับ โอกาสและสิ่งแวดล้อมที่เปลี่ยนไป หรืออาจกล่าวได้ว่า การศึกษาคือการนำความสามารถในตัวบุคคลมาใช้ให้เกิดประโยชน์
13.2 จอห์น ดิวอี้ (John Dewey) ได้ให้ความหมายของการศึกษาไว้หลายความหมาย คือ
13.2.1 การศึกษาคือชีวิต ไม่ใช่เตรียมตัวเพื่อชีวิต
13.2.2 การศึกษาคือความเจริญงอกงาม
13.2.3 การศึกษาคือกระบวนการทางสังคม
13.2.4 การศึกษาคือการสร้างประสบการณ์แก่ชีวิต
13.3 คาร์เตอร์ วี. กู๊ด (Carter V. Good) ได้ให้ความหมายของการศึกษาไว้ 3 ความหมาย คือ
13.3.1 การศึกษาหมายถึงกระบวนการต่าง ๆ ที่บุคคลนำมาใช้ในการพัฒนาความรู้ ความสามารถ เจตคติ ความประพฤติที่ดีมีคุณค่า และมีคุณธรรมเป็นที่ยอมรับนับถือของสังคม
13.3.2 การศึกษาเป็นกระบวนการทางสังคมที่ทำให้บุคคลได้รับความรู้ความสามารถจากสิ่งแวดล้อมที่โรงเรียนจัดขึ้น
13.3.3 การศึกษาหมายถึงการถ่ายทอดความรู้ต่าง ๆ ที่รวบรวมไว้อย่างเป็นระเบียบให้คนรุ่นใหม่ได้ศึกษา
Guest Book
Calendar
My Favorite Song...
วันจันทร์ที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2551
ความหมายและความสำคัญของนวัตกรรมและสารสนเทศ
1.1 ความหมายของนวัตกรรมการศึกษา คำว่า นวัตกรรมการศึกษา ตรงกับคำในภาษาอังกฤษว่า Education Innovation ซึ่งหมายถึง การนำเอาสิ่งใหม่ที่อาจจะอยู่ในรูปของความคิดหรือการกระทำ รวมถึงสิ่งประดิษฐ์เข้ามาใช้ในกระบวนการเรียนการสอน ตลอดจนการบริหารจัดการทางการศึกษา เพื่อให้เกิดการเรียนรู้รวดเร็วกระตุ้นให้ผู้เรียนมีความสนใจและแสวงหาความรู้เพิ่มมากขึ้นอย่างมีประสิทธิภาพ นวัตกรรมส่วนใหญ่จะเกิดจากส่วนประกอบของเทคโนโลยี ซึ่งเมื่อเทคโนโลยีมีการเปลี่ยนแปลงก็มักจะทำให้นวัตกรรมเปลี่ยนแปลงไปด้วย
1.2 ความหมายของเทคโนโลยีการศึกษา คำว่า เทคโนโลยี เป็นคำที่ใช้ทับศัพท์คำว่า Technology ในภาษาอังกฤษ ซึ่งเป็นผลจากการศึกษาค้นพบทางด้านวิทยาศาสตร์แล้วนำมาประยุกต์ใช้ให้เกิดสิ่งใหม่ๆ ขึ้น เทคโนโลยีการศึกษาจึงหมายถึง การนำเทคโนโลยีบางอย่างมาประยุกต์ใช้ในการศึกษา เพื่อสร้างเสริมกระบวนการเรียนรู้ให้เกิดได้ง่ายและรวดเร็วคำว่า นวัตกรรม และ เทคโนโลยี จึงมีส่วนเกี่ยวข้องกัน แม้ว่าจะเป็นการนำเทคโนโลยีซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นอุปกรร์และส่งประดิษฐ์มาประยุกต์ โดยมีกระบวนการกระทำหรือจัดการทำให้เกิดนวัตกรรมขึ้นมาก็ตาม แต่คนส่วนใหญ่มักจะใช้คำว่า เทคโนโลยี แทน โดยเฉพาะในปัจจุบันได้มีการประยุกต์วิธีการโดยนำเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (Information and Communication Technology) ซึ่งประกอบด้วยคอมพิวเตอร์และการสื่อสารทางไกลเป็นองค์ประกอบหลักเข้ามาใช้ในการศึกษา จึงมักจะเรียกว่า การใช้เทคโนโลยีและการสื่อสารการศึกษา หรือเรียกย่อว่า การใช้ ICT ทางการศึกษา แทนที่จะใช้คำว่า “นวัตกรรมทางการศึกษา” และเพื่อให้สอดคล้องกับความนิยมในการใช้คำเช่นนี้ ในบทเรียนนี้จึงขอใช้คำว่า เทคโนโลยีการศึกษา แทน โดยให้หมายถึงนวัตกรรมที่ใช้เทคโนโลยีการสื่อสารเป็นองค์ประกอบหลักที่ก่อให้เกิดนวัตกรรมใหม่ๆ ทางการศึกษา ซึ่งกำลังเป็นที่นิยมใช้กันอย่างกว้างขวางในการศึกษาปัจจุบัน
1.3 ความหมายของระบบสารสนเทศ ระบบที่จะนำมาใช้ในการบริหารงานในที่นี้ ได้แก่ ระบบสารสนเทศ (Information System) ซึ่ง อนันต์ เกิดดำ (2548) ได้ให้ความหมายไว้ดังนี้ระบบสารสนเทศ คือ เซ็ตขององค์ประกอบที่สัมพันธ์กันซึ่งรวบรวม ประมวล จัดเก็บและเผยเพร่สารสนเทศเพื่อสนับสนุนและการตัดสินใจและการควบคุมในองค์กร
1.4 ประเภทของระบบสารสนเทศที่ใช้ในองค์กรปัจจุบัน ระบบสารสนเทศเป็นที่นิยมใช้ในองค์กรทุกประเภท ไม่ว่าจะเป็นองค์ประกอบขนาดใหญ่หรือขนาดเล็ก ระบบสารสนเทศที่ใช้กันอยู่ในองค์กรทั่วๆไปจำแนกได้ ดังนี้
1.4.1 ระบบประมวลผลรายการ (Transaction Processing System: TPS) ระบบประมวลผลรายการเป็นพื้นฐานของระบบธุรกิจ ซึ่งเป็นระบบที่ช่วยผู้บริหารในระดับปฏิบัติการระบบจะใช้คอมพิวเตอร์ในการบันทึกรายกระประจำวันในการทำธุรกิจ ตัวอย่างเช่น ระบบการสั่งซื้อ ระบบการจองห้องพัก ระบบเงินเดือนและค่าจ้าง ระบบรับและส่งสินค้าออกเนื่องจากการบริหารในระดับปฏิบัติการ งานกฎเกณฑ์และเงื่อนไขได้กำหนดไว้ล่วงหน้าแน่นอนแล้ว ดังนั้นการตัดสินใจจะต้องเป็นไปตามเงื่อนไขที่กำหนดไว้แล้วเท่านั้นตัวอย่างเช่นการตัดสินใจจะให้เครดิตแก่ลูกค้าของธนาคาร สิ่งที่ผู้บริหารในระดับนี้จะตัดสินใจว่าจะให้หรือไม่ เขาจะทำได้เพียงแต่ตรวจว่าลูกค้ามีคุณสมบัติตามเงื่อนไขที่กำหนดไว้หรือไม่เท่านั้น
1.4.2 ระบบสารสนเทศเพื่องานบริหาร (Management Information System: MIS) ระบบสารสนเทศเพื่อการบริหารหรือที่นิยมเรียกกันทั่วไปว่า ระบบ MIS คือระบบที่ผลิตสารสนเทศที่ผู้บริหารต้องการใช้ในการบริหารงานให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพระบบจะผลิตรายงานเพื่อผู้บริหาร บางกรณีผู้บริหารอาจจะเรียกใช้ด้วยระบบออนไลน์ โดยทั่วไปแล้วระบบ MIS จะเป็นข้อมูลภายในองค์กร ไม่เกี่ยวกับข้อมูลภายนอกหรือข้อมูลสภาพแวดล้อม ในเบื้องต้น MIS จะผลิตสารสนเทศเพื่อผู้บริหาร โดยเฉพาะในด้านการวางแผน การควบคุม และการตัดสินใจ
1.4.3 ระบบสนับสนุนการตัดสินใจ (Decistion Support System: DSS) ระบบสนับสนุนการตัดสินใจส่วนมากเป็นระบบที่พัฒนาขึ้นเพื่อช่วยในการตัดสินใจของผู้บริหารเป็นไปได้อย่างสะดวก ระบบจะสามารถสรุปหรือเปรียบเทียบข้อมูลจากทุกแหล่งไม่ว่าจะเป็นข้อมูลภายในหรือภายนอกองค์กร แหล่งข้อมูลภายใน ได้แก่ ข้อมูลในแฟ้มองค์กรที่มีอยู่แล้ว เช่น ข้อมูลเกี่ยวกับการขาย ข้อมูลเกี่ยวกับการผลิต ข้อมูลทางด้านการเงิน ข้อมูลจากแหล่งภายนอก ได้แก่ ข้อมูลด้านอัตราดอกเบี้ย ข้อมูลแนวโน้มของประชากร หรือข้อมูลด้านความต้องการของตลาดโลก ระบบการตัดสินใจส่วนมากเป็นระบบที่มีการตอบโต้ระหว่างผู้ใช้กับคอมพิวเตอร์ และจะมีความสามารถในการวิเคราะห์ค่าทางสถิติ มีตารางการทำงาน มีกราฟแบบต่างๆ ที่จะช่วยให้ผู้ประเมินข้อมูลในการติดสินใจในระบบการสนับสนุนการตัดสินใจที่จะก้าวหน้ามาก ผู้ใช้อาจจะสร้างแบบจำลองของปัจจัยที่มีผลกระทบต่อการติดสินใจ ลักษณะของระบบสนับสนุนการตัดสินใจได้ดีอาจสรุปได้ ดังนี้
1. ระบบจะต้องใช้ช่วยผู้บริหารในกระบวนการตัดสินใจ
2. ระบบจะต้องสนับสนุนการตัดสินใจได้ทุกระดับ แต่จะเน้นที่ระดับวางแผนบริหารและวางแผนกลยุทธ์
3. ระบบมีความสามารถในการจำลองสถานการณ์ และมีเครื่องมือที่ใช้ในการวิเคราะห์สำหรับช่วยเหลือผู้ตัดสินใจ
4. ระบบต้องสามารถติดต่อกับฐานข้อมุลในองค์กรได้
5. ระบบจะต้องเป็นระบบที่ตอบโต้กับผู้ใช้ได้ สามารถใช้งานได้ง่าย ผู้ใช้สามารถใช้งานได้โดยพึ่งความช่วยเหลือจากผู้เชี่ยวชาญน้อยที่สุด
1.4.4 ระบบสารสนเทศเพื่อผู้บริหารระดับสูง (Executive Support System: ESS) ระบบสารสนเทศเพื่อผู้บริหารระดับสูงเป็นระบบที่ช่วยให้ผู้บริหารระดับสูงติดตามผลของการปฏิบัติงานขององค์การ ติดตามกิจกรรมของคู่แข่ง ชี้ให้เห็นปัญหา มองหาโอกาส และคาดคะเนแนวโน้มต่างๆ ในอนาคต ในการนำ ESS มาใช้นั้น จะต้องออกแบบให้ระบบใช้ทั้งข้อมุลภายในและภายนอกองค์กร นอกจากนี้ยังรวมเอาเครื่องมือต่างๆ ที่ใช้ในการจำลองการวิเคราะห์ ตัวอย่างเช่น LOTUS1-2-3, EXCEL หรือโปรแกรมตารางการทำงานอื่นๆ
1.4.5 ระบบผู้เชี่ยวชาญ (Expert System) ระบบผู้เชี่ยวชาญมีส่วนคล้ายระบบอื่นๆ คือเป็นระบบคอมพิวเตอร์ที่ช่วยบริหารแก้ไขปัญหาหรือการตัดสินใจได้ดีขึ้น อย่างไรก็ดี ระบบผู้เชี่ยวชาญจะแตกต่างกับระบบอื่นอยู่มาก เนื่องจากระบบผู้เชี่ยวชาญจะเกี่ยวข้องกับ การจัดการความรู้ (Knowledge management) มากกว่าสารสนเทศ และถูกออกแบบมาให้ช่วยในการติดสินใจโดยใช้วิธีเดียวกับผู้เชี่ยวชาญที่เป็นมนุษย์โดยใช้หลักการทำงานด้วยระบบปัญญาประดิษฐ์ (Artificial intelligence)ระบบผู้เชี่ยวชาญจะทำการโต้ตอบกับมนุษย์โดยมีการถามข้อมูลเพิ่มเติมเพื่อความกระจ่าง ให้ข้อแนะนำ และช่วยเหลือในกระบวนการติดสินใจ นั่นคือ การทำงานคล้ายกับเป็นมนุษย์ผู้เชี่ยวชาญในการแก้ไขปัญหานั้นๆ เนื่องจากระบบนี้ก็คือการจำลองความรุ้ของผู้เชี่ยวชาญจริงๆ มานั่นเอง โดยผู้เชี่ยวชาญในที่นี้อาจเป็นได้ทั้งผู้เชี่ยวชาญในการบริหาร ผู้เชี่ยวชาญในเรื่องภาษี ผู้เชี่ยวชาญในเรื่องยา หรือแม้แต่ผู้เชี่ยวชาญในการทำอาหารก็ตาม
1.2 ความหมายของเทคโนโลยีการศึกษา คำว่า เทคโนโลยี เป็นคำที่ใช้ทับศัพท์คำว่า Technology ในภาษาอังกฤษ ซึ่งเป็นผลจากการศึกษาค้นพบทางด้านวิทยาศาสตร์แล้วนำมาประยุกต์ใช้ให้เกิดสิ่งใหม่ๆ ขึ้น เทคโนโลยีการศึกษาจึงหมายถึง การนำเทคโนโลยีบางอย่างมาประยุกต์ใช้ในการศึกษา เพื่อสร้างเสริมกระบวนการเรียนรู้ให้เกิดได้ง่ายและรวดเร็วคำว่า นวัตกรรม และ เทคโนโลยี จึงมีส่วนเกี่ยวข้องกัน แม้ว่าจะเป็นการนำเทคโนโลยีซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นอุปกรร์และส่งประดิษฐ์มาประยุกต์ โดยมีกระบวนการกระทำหรือจัดการทำให้เกิดนวัตกรรมขึ้นมาก็ตาม แต่คนส่วนใหญ่มักจะใช้คำว่า เทคโนโลยี แทน โดยเฉพาะในปัจจุบันได้มีการประยุกต์วิธีการโดยนำเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (Information and Communication Technology) ซึ่งประกอบด้วยคอมพิวเตอร์และการสื่อสารทางไกลเป็นองค์ประกอบหลักเข้ามาใช้ในการศึกษา จึงมักจะเรียกว่า การใช้เทคโนโลยีและการสื่อสารการศึกษา หรือเรียกย่อว่า การใช้ ICT ทางการศึกษา แทนที่จะใช้คำว่า “นวัตกรรมทางการศึกษา” และเพื่อให้สอดคล้องกับความนิยมในการใช้คำเช่นนี้ ในบทเรียนนี้จึงขอใช้คำว่า เทคโนโลยีการศึกษา แทน โดยให้หมายถึงนวัตกรรมที่ใช้เทคโนโลยีการสื่อสารเป็นองค์ประกอบหลักที่ก่อให้เกิดนวัตกรรมใหม่ๆ ทางการศึกษา ซึ่งกำลังเป็นที่นิยมใช้กันอย่างกว้างขวางในการศึกษาปัจจุบัน
1.3 ความหมายของระบบสารสนเทศ ระบบที่จะนำมาใช้ในการบริหารงานในที่นี้ ได้แก่ ระบบสารสนเทศ (Information System) ซึ่ง อนันต์ เกิดดำ (2548) ได้ให้ความหมายไว้ดังนี้ระบบสารสนเทศ คือ เซ็ตขององค์ประกอบที่สัมพันธ์กันซึ่งรวบรวม ประมวล จัดเก็บและเผยเพร่สารสนเทศเพื่อสนับสนุนและการตัดสินใจและการควบคุมในองค์กร
1.4 ประเภทของระบบสารสนเทศที่ใช้ในองค์กรปัจจุบัน ระบบสารสนเทศเป็นที่นิยมใช้ในองค์กรทุกประเภท ไม่ว่าจะเป็นองค์ประกอบขนาดใหญ่หรือขนาดเล็ก ระบบสารสนเทศที่ใช้กันอยู่ในองค์กรทั่วๆไปจำแนกได้ ดังนี้
1.4.1 ระบบประมวลผลรายการ (Transaction Processing System: TPS) ระบบประมวลผลรายการเป็นพื้นฐานของระบบธุรกิจ ซึ่งเป็นระบบที่ช่วยผู้บริหารในระดับปฏิบัติการระบบจะใช้คอมพิวเตอร์ในการบันทึกรายกระประจำวันในการทำธุรกิจ ตัวอย่างเช่น ระบบการสั่งซื้อ ระบบการจองห้องพัก ระบบเงินเดือนและค่าจ้าง ระบบรับและส่งสินค้าออกเนื่องจากการบริหารในระดับปฏิบัติการ งานกฎเกณฑ์และเงื่อนไขได้กำหนดไว้ล่วงหน้าแน่นอนแล้ว ดังนั้นการตัดสินใจจะต้องเป็นไปตามเงื่อนไขที่กำหนดไว้แล้วเท่านั้นตัวอย่างเช่นการตัดสินใจจะให้เครดิตแก่ลูกค้าของธนาคาร สิ่งที่ผู้บริหารในระดับนี้จะตัดสินใจว่าจะให้หรือไม่ เขาจะทำได้เพียงแต่ตรวจว่าลูกค้ามีคุณสมบัติตามเงื่อนไขที่กำหนดไว้หรือไม่เท่านั้น
1.4.2 ระบบสารสนเทศเพื่องานบริหาร (Management Information System: MIS) ระบบสารสนเทศเพื่อการบริหารหรือที่นิยมเรียกกันทั่วไปว่า ระบบ MIS คือระบบที่ผลิตสารสนเทศที่ผู้บริหารต้องการใช้ในการบริหารงานให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพระบบจะผลิตรายงานเพื่อผู้บริหาร บางกรณีผู้บริหารอาจจะเรียกใช้ด้วยระบบออนไลน์ โดยทั่วไปแล้วระบบ MIS จะเป็นข้อมูลภายในองค์กร ไม่เกี่ยวกับข้อมูลภายนอกหรือข้อมูลสภาพแวดล้อม ในเบื้องต้น MIS จะผลิตสารสนเทศเพื่อผู้บริหาร โดยเฉพาะในด้านการวางแผน การควบคุม และการตัดสินใจ
1.4.3 ระบบสนับสนุนการตัดสินใจ (Decistion Support System: DSS) ระบบสนับสนุนการตัดสินใจส่วนมากเป็นระบบที่พัฒนาขึ้นเพื่อช่วยในการตัดสินใจของผู้บริหารเป็นไปได้อย่างสะดวก ระบบจะสามารถสรุปหรือเปรียบเทียบข้อมูลจากทุกแหล่งไม่ว่าจะเป็นข้อมูลภายในหรือภายนอกองค์กร แหล่งข้อมูลภายใน ได้แก่ ข้อมูลในแฟ้มองค์กรที่มีอยู่แล้ว เช่น ข้อมูลเกี่ยวกับการขาย ข้อมูลเกี่ยวกับการผลิต ข้อมูลทางด้านการเงิน ข้อมูลจากแหล่งภายนอก ได้แก่ ข้อมูลด้านอัตราดอกเบี้ย ข้อมูลแนวโน้มของประชากร หรือข้อมูลด้านความต้องการของตลาดโลก ระบบการตัดสินใจส่วนมากเป็นระบบที่มีการตอบโต้ระหว่างผู้ใช้กับคอมพิวเตอร์ และจะมีความสามารถในการวิเคราะห์ค่าทางสถิติ มีตารางการทำงาน มีกราฟแบบต่างๆ ที่จะช่วยให้ผู้ประเมินข้อมูลในการติดสินใจในระบบการสนับสนุนการตัดสินใจที่จะก้าวหน้ามาก ผู้ใช้อาจจะสร้างแบบจำลองของปัจจัยที่มีผลกระทบต่อการติดสินใจ ลักษณะของระบบสนับสนุนการตัดสินใจได้ดีอาจสรุปได้ ดังนี้
1. ระบบจะต้องใช้ช่วยผู้บริหารในกระบวนการตัดสินใจ
2. ระบบจะต้องสนับสนุนการตัดสินใจได้ทุกระดับ แต่จะเน้นที่ระดับวางแผนบริหารและวางแผนกลยุทธ์
3. ระบบมีความสามารถในการจำลองสถานการณ์ และมีเครื่องมือที่ใช้ในการวิเคราะห์สำหรับช่วยเหลือผู้ตัดสินใจ
4. ระบบต้องสามารถติดต่อกับฐานข้อมุลในองค์กรได้
5. ระบบจะต้องเป็นระบบที่ตอบโต้กับผู้ใช้ได้ สามารถใช้งานได้ง่าย ผู้ใช้สามารถใช้งานได้โดยพึ่งความช่วยเหลือจากผู้เชี่ยวชาญน้อยที่สุด
1.4.4 ระบบสารสนเทศเพื่อผู้บริหารระดับสูง (Executive Support System: ESS) ระบบสารสนเทศเพื่อผู้บริหารระดับสูงเป็นระบบที่ช่วยให้ผู้บริหารระดับสูงติดตามผลของการปฏิบัติงานขององค์การ ติดตามกิจกรรมของคู่แข่ง ชี้ให้เห็นปัญหา มองหาโอกาส และคาดคะเนแนวโน้มต่างๆ ในอนาคต ในการนำ ESS มาใช้นั้น จะต้องออกแบบให้ระบบใช้ทั้งข้อมุลภายในและภายนอกองค์กร นอกจากนี้ยังรวมเอาเครื่องมือต่างๆ ที่ใช้ในการจำลองการวิเคราะห์ ตัวอย่างเช่น LOTUS1-2-3, EXCEL หรือโปรแกรมตารางการทำงานอื่นๆ
1.4.5 ระบบผู้เชี่ยวชาญ (Expert System) ระบบผู้เชี่ยวชาญมีส่วนคล้ายระบบอื่นๆ คือเป็นระบบคอมพิวเตอร์ที่ช่วยบริหารแก้ไขปัญหาหรือการตัดสินใจได้ดีขึ้น อย่างไรก็ดี ระบบผู้เชี่ยวชาญจะแตกต่างกับระบบอื่นอยู่มาก เนื่องจากระบบผู้เชี่ยวชาญจะเกี่ยวข้องกับ การจัดการความรู้ (Knowledge management) มากกว่าสารสนเทศ และถูกออกแบบมาให้ช่วยในการติดสินใจโดยใช้วิธีเดียวกับผู้เชี่ยวชาญที่เป็นมนุษย์โดยใช้หลักการทำงานด้วยระบบปัญญาประดิษฐ์ (Artificial intelligence)ระบบผู้เชี่ยวชาญจะทำการโต้ตอบกับมนุษย์โดยมีการถามข้อมูลเพิ่มเติมเพื่อความกระจ่าง ให้ข้อแนะนำ และช่วยเหลือในกระบวนการติดสินใจ นั่นคือ การทำงานคล้ายกับเป็นมนุษย์ผู้เชี่ยวชาญในการแก้ไขปัญหานั้นๆ เนื่องจากระบบนี้ก็คือการจำลองความรุ้ของผู้เชี่ยวชาญจริงๆ มานั่นเอง โดยผู้เชี่ยวชาญในที่นี้อาจเป็นได้ทั้งผู้เชี่ยวชาญในการบริหาร ผู้เชี่ยวชาญในเรื่องภาษี ผู้เชี่ยวชาญในเรื่องยา หรือแม้แต่ผู้เชี่ยวชาญในการทำอาหารก็ตาม
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)